โครงการ Apollo 13 ที่โลกลืม – ลุ้นระทึกกับการเอาชีวิตรอดจากเหตุขัดข้องทางเทคนิค
ในช่วงสงครามเย็น สองชนชาติที่ยิ่งใหญ่ของโลกต่างแข่งขันกันในทุกๆด้าน โดยเฉพาะเทคโนโลยีอวกาศ และหนึ่งในโครงการอวกาศที่เรารู้จักกันดี คือ โครงการอะพอลโล ซึ่งเป็นความพยายามของสหรัฐอเมริกาในการพิชิตอวกาศ เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1961 โดยประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี ได้ประกาศต่อประชาชนในสหรัฐว่า “สหรัฐฯจะต้องไปเหยียบดวงจันทร์ให้ได้ภายในสิ้นปี 1970” ทำให้มีการเร่งพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศขนานใหญ่เพื่อให้เหนือสหภาพรัสเซีย จนประสบความสำเร็จในปี ค.ศ. 1969 กับอะพอลโล 11 ที่มีมนุษยชาติคนแรกได้ไปเหยียบดวงจันทร์นามว่า “นีล อาร์มสตรอง“กระนั้นก็ยังมีโครงการอะพอลโลตามออกมาอีกหลายครั้ง แต่โครงการอะพอลโลครั้งที่น่าตื่นเต้นที่สุดของนาซ่า และชนชาติอเมริกา ก็คือ การปล่อยอะพอลโล 13 ที่แหลม Canaveral รัฐฟลอริดา เมื่อวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1970 เนื่องจากความตั้งใจที่จะส่งนักบินอวกาศทั้ง 3 คน ไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้ง แต่กลับต้องยุติลง เนื่องจากมีปัญหาทางเทคนิคที่สำคัญกลางอวกาศ
ระบบบริการ ยานอะพอลโล 13 เสียหาย
ขณะที่ยานอะพอลโล 13 กำลังมุ่งหน้าโคจรสู่ดวงจันทร์ ส่วนของยานบริการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบยานอะพอลโล เกิดความเสียหายขึ้น มีออกซิเจนรั่วออกไปภายนอกยาน และระบบเซลล์เชื้อเพลิงที่สร้างพลังงานให้ยานก็มีความร้อนสูง คาร์บอนไดออกไซด์ภายในยานก็เพิ่มมากขึ้นจนจะเป็นปัญหาต่อสุขภาพนักบิน นาซาได้วิทยุสั่งให้นักบินสละยานบริการแล้วย้ายนักบินทั้ง 3 เข้าไปอยู่ในยานลูนาร์โมดูลที่ใช้ลงผิวดวงจันทร์แทน
กลับโลกโดยอาศัยแรงเหวี่ยงจากความโน้มถ่วงของดวงจันทร์ (Sling Shot)
นักบินทั้ง 3 คน อยู่ในภาวะวิกฤตเป็นอย่างมาก และต้องหาทางประดิษฐ์กล่องฟิลเตอร์กรองอากาศจากวัสดุที่มีบนยาน โดยสื่อสารได้เพียงระบบวิทยุเนื่องจากต้องตัดพลังงานทั้งหมดไว้ใช้แต่จำเป็นเพื่อกลับโลก อุณหภูมิในยานลดต่ำลงถึง 3 องศาเซลเซียส และเป็นครั้งแรกที่ใช้ระบบจุดระเบิดยานลงดวงจันทร์ จุดระเบิดเพื่อกลับโลก ในขณะที่ภาคพื้นดินก็ต้องคำนวณเส้นทางการบินใหม่ให้แม่นยำ เพื่อกลับสู่โลกในมหาสมุทร ไม่ให้ไปตกในจุดอันตราย สุดท้ายนาซาเลือกที่จะให้ยานไปวนรอบดวงจันทร์หนึ่งรอบ แล้วใช้แรงเหวี่ยง (Sling Shot) พร้อมกับจุดระเบิดขับเคลื่อนนานเกือบ 5 นาที ก่อนที่อะพอลโล 13 จะมุ่งหน้าสู่ทางใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีกองเรือของสหรัฐฯ คอยช่วยเหลือนักบินอวกาศทุกคนอย่างปลอดภัยในวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1970 รวมเวลาฝ่าวิกฤตในอวกาศนานหนึ่งสัปดาห์เต็ม
Reference and More Detail & Media
“นิตยสาร HIVE จากฮอนด้า.”. [Online]. via : Honda Magazine sep 2015.
“apollo 13.”. [Online]. via : wikipedia 2015.