ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Southampton พบว่าแผ่นน้ำแข็ง Antarctic มีช่วงการหลอมละลายครั้งใหญ่เมื่อหนึ่งล้านปีก่อน ซึ่งในขณะที่ระดับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มีสัดส่วนเทียบเท่ากับยุคปัจจุบัน
ดอกเตอร์ Diederik Liebrand – นักภูมิอากาศดึกดำบรรพ์วิทยา (palaeoclimatologist) ซึ่งเป็นนักวิจัยหนึ่งในโครงการ International Ocean Discovery Program Collaboration เกริ่นว่าเมื่อ 20 – 30 ล้านปีก่อนแผ่นน้ำ Antarctic มีอัตราการหลอมละลายและก่อตัวเป็นน้ำแข็งในปริมาณพอๆกับปริมาณทั้งหมดของแผ่นน้ำแข็ง Antarctic ทางตะวันออกในยุคปัจจุบัน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยและไม่เป็นเรื่องที่น่ากังวล แต่มีอยู่ช่วงเวลาหนึ่งที่อัตราการละลายนั้นสูงมากจนน่าตกใจ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศมีปริมาณสูงพอๆกัน
ดอกเตอร์ Liebrand กล่าวต่อไปอีกว่า “การวิจัยของพวกเราแสดงให้เห็นว่าแม้แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ก็สามารถส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกาได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงระดับน้ำทะเลทั่วโลกได้”
นี่เป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับนักวิทยาศาสตร์ เนื่องจากมนุษย์เป็นตัวแปรหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะเราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด และอัตราการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันเกิดเร็วกว่าที่เกิดขึ้นเมื่อหลายล้านปีก่อน (ในยุคก่อนปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ถูกปลดปล่อยมาจากไฟป่า หรือไม่ก็การระเบิดภูเขาไฟ)
ทราบได้อย่างไรว่าเมื่อหลายแสนหลายล้านปีก่อนมีช่วงที่ CO2 มีปริมาณสูงในบรรยากาศ
นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจสอบธาตุไอโซโทปของออกซิเจนในซากฟอสซิลของจุลินทรีย์ที่พบในแกนของตะกอนแผ่นน้ำแข็ง ซึ่งอยู่ลึกลงไป 2.5 กิโลเมตรทางใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก
การแกว่งตัวขนาดใหญ่ในปริมาณหรือองค์ประกอบของไอโซโทปที่พบนั้น แสดงให้เห็นว่าแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกามีรอบการละลายและก่อตัวขึ้นมาใหม่ในรอบ 110,000 ปี ซึ่งอยู่ระหว่างยุค Oligocene กับ Miocene ช่วงแรกๆ
“ในขณะนั้น แผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ยังไม่ได้ก่อตัวขึ้นในซีกโลกเหนือ ดังนั้นวัฏจักรที่เรากำลังสังเกตได้นั้น หมายความว่าโลกกำลังสลับไปมาระหว่าง ยุคที่มีและไม่มีแผ่นน้ำแข็งนั่นเอง” Dr Liebrand กล่าว
ศาสตราจารย์ Paul Wilson นักวิจัยอีกท่านจาก University of Southampton กล่าวว่า
จากเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเดียวกันกับที่ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มากพอๆกับในยุคปัจจุบัน ฉะนั้นเราอาจจะประสบภัยทางธรรมชาติ อย่างเช่นระดับน้ำทะเลสูงขึ้นในอีก 50 ถึง 100 ปีนับจากนี้ เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นเมื่อหลายล้านปีก่อน
การค้นพบนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences ในสหรัฐอเมริกา (PNAS)
Read Original Article and More Detail & Media
“Scientists highlight Antarctic ice upheaval in response to prehistoric climate change.“. [Online]. via : southampton.ac.uk 2017.
No Responses