สามนักวิจัยจาก Boston และ Dartmouth พบว่าหนึ่งในสายบรรพบุรุษเรามีโครงสร้างของร่างกายที่ทำให้คลอดเด็กทารกได้ง่ายกว่ามนุษย์ยุคปัจจุบัน
นักวิจัยได้สร้างแบบจำลองสามมิติจำลองกระดูกเชิงกรานของมนุษย์ Australopithecus sediba จากซากฟอสซิลหลาย ๆ ตัวอย่าง ซึ่งเคยมีชีวิตอาศัยอยู่บนโลกเมื่อ 1.95 พันล้านปีก่อน รวมทั้งยังนำมนุษย์ Homo erectus และลิงชิมแปนซีมาศึกษาลักษณะกระดูกเชิงกรานร่วมเปรียบเทียบอีกด้วย
ผลที่ได้ คือ ขนาดของช่องคลอดมนุษย์ A. sediba ค่อนข้างมีขนาดใหญ่กว่าหัวกระโหลกของเด็กทารก เมื่อเทียบกับมนุษย์ในกลุ่มอื่น ๆ รวมทั้งของลิงชิมแปนซี ในขณะที่ลิงชิมแปนซี เมื่อให้กำเนิดลูกลิง พวกมันจะเจ็บปวดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ตามงานวิจัยก่อนหน้านี้ เชื่อว่าความยากในการให้กำเนิดเด็กทารกของมนุษย์ในปัจจุบัน เป็นผลพวงมาจากการที่มนุษย์ยุคปัจจุบันได้วิวัฒนาการเดินสองขาในแนวตั้งฉากกับผิวโลก (Upright Gait) ทำให้กระดูกเชิงกรานมีการเปลี่ยนแปลงส่งผลให้ช่องคลอด (Birth Canal) มีขนาดเล็กลง การคลอดจึงเป็นเรื่องที่ยากลำบากกว่ามนุษย์สายพันธุ์อื่น ๆ
เรียบเรียงโดย Einstein@min
Sources :
[1] Computer simulations show human ancestors would have had an easier time giving birth than modern women. phys.org, 2019 : https://phys.org/…/2019-09-simulations-human-ancestors-easi…
[2] Reconstructing birth in Australopithecus sediba. https://journals.plos.org, 2019 : https://journals.plos.org/plosone/article…
ช่องทางติดตามข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แอพ Blockdit : https://www.blockdit.com/thaiscience
Instagram : https://www.instagram.com/thaisciencenews
Twitter : https://twitter.com/Thaiphys