กล้องโทรทรรศน์ ALMA หรือ Atacama Large Millimeter Array เป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุตั้งอยู่ในทะลทราย Atacama ทางตอนเหนือของ Chile ตรวจบพบระบบดาวฤกษ์ที่กำลังฟอร์มตัวอย่างช้า ๆ เชื่อว่าภายหลังอาจคล้ายระบบสุริยะของเรา
ทีมนักวิจัยที่ใช้กล้อง ALMA ได้อธิบายภาพถ่ายด้านล่างนี้ว่า
กำลังมีการฟอร์มตัวของดาวเคราะห์จากเศษฝุ่นและแก๊ส ซึ่งในท้ายที่สุดจะกลายเป็นดาวเคราะห์อย่างโลก หรือดาวพฤหัสบดี เหมือนกับระบบสุริยะของเรา แต่มีข้อแตกต่างคือ ระบบดาวฤกษ์นี้ อาจมี 2 วงแหวน
Tomoyuki Kudo หนึ่งในนักดาราศาสตร์จาก NAOJ (องค์การอวกาศของญี่ปุ่น) และทีมได้สำรวจดาวฤกษ์เกิดใหม่ชื่อว่า DM Tau ซึ่งอยู่ห่างจากเราออกไปในกลุ่มดาวนักษัตร Taurus ประมาณ 470 ปีแสง
ทั้งนี้ DM Tau มีมวลประมาณครึ่งหนึ่งของระบบสุริยะของเรา และมีอายุประมาณ 3 – 5 ล้านปีเท่านั้น เมื่อเทียบกับระบบสุริยะของเราที่มีอายุ 4.6 พันล้านปีมาแล้ว
DM Tau มีวงแหวน 2 วง
ลักษณะพิเศษของระบบดาวฤกษ์ DM Tau ก็คือ เชื่อว่าจะมีวงแหวนด้วยกัน 2 วง โดยเป็นที่อยู่ของเศษหิน ฝุ่น แก๊ส ที่โคจรรอบดาวฤกษ์เกิดใหม่ คล้ายกับระบบสุริยะของเราที่มีแถบ Kuiper เป็นที่อยู่ของดาวเคราะห์น้อยหลายหมื่นดวง
การค้นพบนี้ถือว่าเป็นเรื่องตื่นเต้นมากสำหรับนักดาราศาสตร์ เหมือนกับเราเจอผีเสื้อ (เหมือนระบบสุริยะในปัจจุบัน) แต่เรายังไม่เคยเจอไข่ของผีเสื้อเลย ระบบดาวฤกษ์อายุน้อยอย่าง DM Tau เปรียบเสมือนไข่ผีเสื้อ ที่ช่วยให้เราสังเกต และวิเคราะห์ความเป็นไป รวมถึงวิวัฒนาการของระบบดาวฤกษ์ได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ผู้อ่านสามารถอ่านงานวิจัยของ Tomoyuki Kudo และทีมงานของเขาได้ที่ The Astrophysical Journal (2018) ในหัวข้อ A Spatially Resolved au-scale Inner Disk around DM Tau