นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Reading แห่งสหราชอาณาจักร อ้างว่าไขมันที่เกิดจากการปรุงอาหารจากหม้อทอดไฟฟ้าต่างๆ อาจส่งผลต่อการก่อตัวของเมฆได้
ดอกเตอร์ Pfrang ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้เชี่ยวชาญกายภาพและเคมีของชั้นบรรยากาศและทีมวิจัย ได้ตีพิมพ์งานวิจัยผ่าน Nature Communications เกี่ยวกับการสาธิตโมเลกุลของกรดไขมันที่ถูกปล่อยออกไปสู่ชั้นบรรยากาศหลังจากการปรุงอาหาร สามารถก่อตัวเป็นหยด (Droplets) รูปทรง 3 มิติได้ (เป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการเท่านั้น)
สิ่งหนึ่งที่นักวิจัยแน่ใจก็คือ โมเลกุลของกรดไขมันจะเคลือบรอบๆ ละอองอนุภาค (Aerosol Particles) ในชั้นบรรยากาศ และมันจะไปรบกวนความสามารถในการสร้างเมฆของละอองอนุภาค โดยพื้นฐานแล้วละอองอนุภาคจะทำหน้าที่ให้ไอน้ำเกาะและควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำ หรือเมฆ แต่เมื่อโมเลกุลของกรดไขมันเคลือบละอองอนุภาคอยู่ทำให้ไอน้ำยากที่จะเข้าถึงได้ (คล้ายกันกับการนำน้ำและน้ำมันมาผสมกัน แต่ไม่สามารถรวมตัวกันได้)
นอกจากโมเลกุลกรดไขมันจะส่งผลต่อความสามารถในการก่อตัวของเมฆแล้ว นักวิจัยลองศึกษาโครงสร้างอย่างละเอียด ก็พบว่าโครงสร้างของโมเลกุลกรดไขมันมีความซับซ้อนกว่าที่คิด และอาจทำให้มันอยู่ในชั้นบรรยากาศนานกว่าเดิม แม้ว่าจะเป็นการสาธิตและทดลองในห้องปฏิบัติการ แต่ทีมวิจัยหวังว่าผลการทดลองที่ได้จะช่วยสร้างกระแสให้ค้นหาผลกระทบที่แท้จริงในชั้นบรรยากาศของโลกเรา
Read Original Article and More Detail & Media
“Cooking fats in the atmosphere may affect climate more than previously thought.”. [Online]. via : phys.org 2017.