จุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) เป็นตาพายุขนาดยักษ์ที่รู้จักกันตั้้งแต่ปี 1830 มนุษย์เราส่งยานสำรวจอวกาศหลายลำบินโฉบ ถ่ายรูป แล้วก็ไปสำรวจที่อื่นต่อๆ หลายต่อหลายครั้ง เช่นยาน Voyagers 1 และ 2 ก็ได้ทำมาแล้ว ปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับมันมาก หนึ่งในข้อสันนิษฐานก็คือ พายุขนาดยักษ์นี้อาจเป็นผลกระทบมาจากสนามแม่เหล็กแรงสูงของดาวพฤหัสบดี
ยานสำรวจอวกาศจูโนมีอุปกรณ์ติดตัวไปหลายอย่างมาก หนึ่งในนั้นคือ อุปกรณ์ที่ถูกเรียกว่า “JEDI” เจได – ย่อมาจาก Jupiter Energetic particle Detector Instrument มันเป็นเครื่องมือที่เอาไว้ตรวจจับอนุภาคพลังงานสูง เพราะนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เมื่อมีอนุภาคที่มีประจุเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กแรงสูงของดาวพฤหัสบดี เราอาจได้รู้อะไรบางอย่างบ้างก็เป็นได้
และก็พบเข้าจนได้ครับ…..
ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดีมีโซนหนึ่งที่ถูกเรียกว่า (Radiation Zone) ยานจูโนตรวจพบอนุภาคที่มีพลังงานสูงมาก โดยอนุภาคส่วนใหญ่เป็นของธาตุที่หนักกว่าอิเล็กตรอน ได้แก่ ไฮโดรเจน, ออกซิเจน และกำมะถัน อนุภาคเหล่านี้จูโนบอกว่ามันวิ่งเร็วใกล้เคียงแสงเลยทีเดียว!
หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่นั่งอยู่หน้าจอมอนิเตอร์นามว่า Heidi Becker ถึงกับบอกว่า
ยิ่งคุณเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดีมากเท่าใด คุณยิ่งเจออะไรที่บ้าๆมากเท่านั้น
(ประมาณว่าเป็นไปได้ไงที่อนุภาคเหล่านี้วิ่งใกล้ความเร็วแสงเหล่านี้)
การค้นพบอนุภาคพลังงานสูงเหล่านี้ สนามแม่เหล็กแรงสูง สภาพอากาศที่แปรปรวนตลอดเวลา ไหนจะพายุจุดแดงใหญ่อีก ยังมีปริศนาอีกมากมายเกี่ยวกับดาวแก๊สแห่งนี้ที่รอให้จูโนสำรวจ
ในวันที่ 16 ธันวาคม 2017 ยานสำรวจอวกาศจูโนจะบินโฉบดาวพฤหัสบดีอีกครั้ง (ครั้งที่ 9) อาจนำพาข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาให้เราอีกครั้ง หรือไม่ก็ปริศนาใหม่ๆให้ชวนปวดหัว
ผู้อ่านสามารถรับชมภาพแสดงตำแหน่งบนดาวพฤหัสบดีที่ค้นพบอนุภาคพลังงานได้จากลิงค์ต้นทาง (ด้านล่าง)
Read Original Article and More Detail & Media
“Juno probes the depths of Jupiter’s great red spot.”. [Online]. via : phys.org 2017