นาซ่าเผยภาพดาวพลูโตคมชัดสูง
1. ภาพมุมมองเหนือเส้นศูนย์สูตรดาวพลูโต
ภาพนี้เป็นหนึ่งในชุดภาพที่มีความคมชัดสูง ถ่ายจากยาน New Horizons โดยบริเวณที่ถ่ายได้นี้กินบริเวณกว้างกว่า 1,800 กิโลเมตร จะเห็นว่ามีพื้นที่สีขาว (ใกล้ขั้วเหนือของดาวพลูโต) อยู่เหนือบริเวณมืด (ด้านล่างของภาพ) ซึ่งมีหลุมที่เกิดจากการชนของอุกกาบาตอยู่มากมาย โดยบริเวณมืดนี้มีชื่อว่า “Cthulhu” ส่วนบริเวณสว่างขาวนวลนั้นเป็นแผ่นน้ำแข็งที่แผ่ขยายเป็นบริเวณกว้างมีชื่อว่า “Sputnik Planum” ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2015 จากระยะห่าง 80,000 กิโลเมตร
Credits: NASA/Johns Hopkins University Applied Physics Laboratory/Southwest Research Institute
2. ภาพบริเวณ Sputnik Planum
ภาพนี้เกิดจากการนำรูปหลายๆช็อตมาเรียงต่อกัน แสดงให้เห็นบริเวณที่เป็นจุดเด่น คือ แผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “Sputnik Planum” (บริเวณกลางภาพ) และจุดที่น่าสนใจคือบริเวณโดยรอบของ Sputnik Planum ที่มีลักษณะคล้ายแผ่นน้ำแข็งขนาดประมาณ 0.8 กิโลเมตรกระจายอยู่รอบๆ
Credits: NASA/Johns Hopkins University Applied Physics Laboratory/Southwest Research Institute
3. บริเวณขอบของ Sputnik Planum ทางทิศตะวันตก
บริเวณกลางของภาพนี้ แสดงให้เห็นถึงลักษณะภูมิประเทศที่เหมือนกำลังจะแตกออกจากกัน กินความกว้างกว่า 470 กิโลเมตร อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ Sputnik Planum
Credits: NASA/Johns Hopkins University Applied Physics Laboratory/Southwest Research Institute
4. ภูมิประเทศอันหลากหลายทางตอนใต้ของ Sputnik Planum
ภาพนี้อยู่ทางตอนใต้ของ Sputnik Planum จะเห็นว่ามีความหลากหลายของภูมิประเทศเป็นอย่างมาก ทั้งหลุมอุกกาบาต ภูเขาสลับซับซ้อน
Credits: NASA/Johns Hopkins University Applied Physics Laboratory/Southwest Research Institute
5. ดวงจันทร์บริวารชารอน Charon
ดวงจันทร์ชารอน Charon เป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวพลูโต ภาพนี้ถ่ายก่อน 10 ชั่วโมง ก่อนที่ยาน New Horizons จะถึงจุดที่ใกล้ดาวพลูโตที่สุดในวันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา ในระยะห่าง 470,000 กิโลเมตร โดยดาว Charon มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,200 กิโลเมตร รายละเอียดของภาพแสดงให้เห็นถึงประวัติทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อน ทั้งรอยแตกที่แสดงการเคลื่อนของเปลือกดาวที่เห็นได้ชัด และบริเวณมืดที่เห็นอย่างชัดเจน (ด้านบนของภาพ)
Credits: NASA/Johns Hopkins University Applied Physics Laboratory/Southwest Research Institute
6. ภาพเส้นแบ่งเวลากลางวันกลางคืนบนดาวพลูโต
รูปนี้ได้มีปรับความสว่างของภาพ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ชั้นบรรยากาศของดาวพลูโตในช่วงที่ดวงอาทิตย์กำลังขึ้นและตก จะเห็นว่ารูปทางขวาจะมีความสว่างกว่า เผยให้เห็นรายละเอียดของชั้นบรรยากาศของดาวพลูโต และเส้นประสีแดง (Terminator) คือ เส้นแบ่งระหว่างกลางวันและกลางคืน ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2015
Credits: NASA/Johns Hopkins University Applied Physics Laboratory/Southwest Research Institute
7. ภาพวิเคราะห์ชั้นบรรยากาศ
จะเห็นว่าภาพด้านซ้ายแสดงให้เห็นชั้นบรรยากาศของดาวพลูโตที่เกิดจากการกระเจิงของแสงจากดวงอาทิตย์ แต่ยังไม่ละเอียดเท่าภาพด้านขวา ที่เมื่อปรับภาพก็จะเห็นเป็นเส้นวงแหวน (ring) ของชั้นบรรยากาศอย่างชัดเจน ภาพนี้ถ่ายหลังจากยาน New Horizons ออกจากตำแหน่งที่ใกล้ดาวพลูโตที่สุดไปแล้ว 16 ชั่วโมง โดยถ่ายในบริเวณด้านมืด
Credits: NASA/Johns Hopkins University Applied Physics Laboratory/Southwest Research Institute
ตอนนี้ยาน New Horizons ก็อยู่ไกลจากโลกเป็นระยะทางกว่า 5 พันล้านกิโลเมตร และจะสำรวจไปไกลอีกกว่า 69 พันล้านกิโลเมตรจากดาวพลูโต และระบบของยานตอนนี้ก็ยังไม่มีปัญหาใดๆ
แปลและเรียบเรียงโดย thaiphysicsteacher.com
Reference and More Detail & Media
“New Pluto Images from NASA’s New Horizons: It’s Complicated.”. [Online]. via : NASA.GOV 2015.