เมื่อวันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา SpaceX ประสบความสำเร็จในการส่งสัมภาระ (Payload) โดยเป็นรถยนต์ Tesla Roaster กับชุดนักบินอวกาศ Starman เข้าสู่ห้วงอวกาศ
มีเรื่องน่าสนใจมากมายเกี่ยวกับการส่งจรวด Falcon Heavy วันนี้ครูฟิสิกส์ไทยจะเรียบเรียงในประเด็นต่างๆ ให้ทราบกันครับ
1. ส่งรถยนต์ Tesla ไปทำไม?
คงไม่มีใครตอบเหตุผลได้ดีเท่า Elon Musk อีกแล้ว โดยเขาตอบไว้อย่างคูลๆ กับสื่อว่า
“I like the absurdity of that” — Elon Musk
หรือแปลได้ว่า “ผมชอบความไร้เหตุผลแบบนี้” แสดงถึงความทะเยอทะยานของ CEO แห่ง SpaceX ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การส่งรถยนต์ Tesla ก็เป็นการทดสอบระบบการขนส่งสัมภาระต่างๆด้วยจรวด Falcon Heavy หรือเราเรียกว่า “Flight Test” ก่อนที่จะส่งสัมภาระจำพวกดาวเทียม หรือมนุษย์ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติในอนาคต และน่าจะเป็นการทดสอบชุดนักบินอวกาศแบบใหม่ที่ชื่อว่า “Starman” อีกด้วย
ภาพวิวจริงจากหุ่นชุดนักบินอวกาศ Starman นั่งอยู่บนรถยนต์ Tesla มองมายังโลก
View from SpaceX Launch Control. Apparently, there is a car in orbit around Earth. pic.twitter.com/QljN2VnL1O
— Elon Musk (@elonmusk) February 6, 2018
2. Falcon Heavy จรวดที่ทรงพลังลำดับที่ 4 ของโลก
จรวด Falcon Heavy นี้ถือได้ว่าเป็นจรวดที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา เป็นอันดับที่ 4 ของโลก
- นับตั้งแต่มนุษย์เราสร้างจรวด Saturn V ใช้กับโครงการอะพอลโล (Apollo Project) ตั้งแต่ปี 1967
- จรวด Energia ของสภาพโซเวียต ที่ทดสอบการบินครั้งแรกในปี 1987
- จรวด N1 ของสภาพโซเวียต ทดสอบการบินครั้งแรกในปี 1969
หากนับเวลาตั้งแต่จรวด Energia สร้างขึ้นมาจนถึงวันที่จรวด Falcon Heavy ขึ้นบินครั้งแรก จะเป็นช่วงเวลากว้างมากถึง 32 ปี นี่อาจเป็นสิ่งที่ SpaceX ชี้ให้มนุษยชาติเห็นว่า การสำรวจอวกาศในยุคใหม่เริ่มต้นขึ้นแล้ว
3. กำลังขับดันเทียบเท่าเครื่องบิน Boeing 747 ถึง 18 ลำ
คอนเซปจรวด Falcon Heavy เกิดจากการนำจรวด Falcon 9 รุ่นปรับปรุงต่างๆ 3 ลำมาประกอบกัน โดยจรวด Falcon 9 มี 9 เครื่องยนต์ ทำให้จรวด Falcon Heavy มีเครื่องยนต์มากถึง 27 เครื่องด้วยกัน สร้างแรงขับดันมหาศาลมากถึง 5 ล้านปอนด์ เทียบเท่าแรงขับดันจากเครื่องบิน Boeing 747 ถึง 18 ลำ
4. ต้นทุนส่งต่อครั้งถูกกว่า
จรวด Saturn V มีต้นทุนขนส่งต่อครั้งประมาณ 185 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ตัวเลขเมื่อปี 1969 -1971) (ในยุคนั้นเงินขนาดนี้ถือว่าเยอะมาก) แต่ต้นทุนส่งต่อครั้งของ Falcon Heavy ที่เคยประกาศในปี 2011 อยู่ในช่วง 80 -125 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น (ขึ้นอยู่กับน้ำหนักสัมภาระและวงโคจรที่ถูกส่งออกไป)
หนึ่งในเหตุผลที่ต้นทุนการขนส่งถูกเนื่องจากจรวดที่ถูกส่งออกไปสามารถกลับมาลงจรวดได้เอง โดยไม่ต้องนำเรือไปลากท่อนจรวดจากมหาสมุทรสู่พื้นดินเหมือนการขนส่งในอดีต การส่งจรวด Falcon Heavy ในครั้งนี้จรวดลำเลียง 2 ลำลงจอดได้อย่างปลอดภัย แต่น่าเสียดายจรวดหลักตกลงสู่น้ำ
การจอดของจรวดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561
อย่างไรก็ตาม ในวันเดียวกันนั้น Elon Musk กล่าวว่ารถยนต์ Tesla กับ Starman ของเขาได้เปลี่ยนวงโคจรใหม่ โดยน่าจะเคลื่อนที่เลยดาวอังคารออกไป และเข้าสู่เขตดาวเคราะห์น้อย (Asteroid Belt) แทน
Third burn successful. Exceeded Mars orbit and kept going to the Asteroid Belt. pic.twitter.com/bKhRN73WHF
— Elon Musk (@elonmusk) February 7, 2018
และนี่คือภาพล่าสุดของ Starman ในรถยนต์ Tesla Roadster โดยเป็นภาพ Selfie กับโลกของเรา จาก Instragram ของ Elon Musk เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์