เรามักจะคิดว่าความโน้มถ่วงในแต่ละบริเวณทั่วโลกมีค่าเท่ากัน แต่ในความเป็นจริงความโน้มถ่วงแต่ละบริเวณไม่เท่ากันเลย และไม่อาจใช้ความรู้สึกประมาณหรือวัดได้ว่าบริเวณใดมีความโน้มถ่วงมากแค่ไหน นักวิทยาศาสตร์จึงใช้เครื่องมืออย่างดาวเทียมที่โคจรรอบโลก เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ออกมาเป็นแผนที่สนามโน้มถ่วง ดังรูปข้างบน
จริงๆแล้วโลกของเราไม่ได้มีรูปทรงกลมสมบูรณ์ แต่โลกมีรูปทรงคล้ายมันฝรั่งเสียมากกว่าเป็นผลให้แต่ละบริเวณมีความเข้มของสนามโน้มถ่วงต่างกัน จากรูปบริเวณสีแดง คือ บริเวณที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเล ซึ่งหมายถึงเป็นบริเวณที่มีความโน้มถ่วงมากกว่าปกติ และบริเวณที่เป็นสีน้ำเงินหรือฟ้า หมายถึง ความโน้มถ่วงอ่อนกว่าปกติ
“The Potsdam Gravity Potato” [Online]. Available : APOD NASA 2558. (information & images)
Video : thebadastronomer_channel